[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
สกร.อำเภอจุน
เมนูหลัก
Website กศน.ตำบล







facebook กศน.ตำบล







แหล่งเรียนรู้ออนไลน์







ระบบต่างๆ










 
  

  หมวดหมู่ : ข่าวสารทั่วไป
เรื่อง : ยาเสพติดที่อันตรายที่สุดในโลก
โดย : chunnfe
เข้าชม : 1094
พฤหัสบดี ที่ 27 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2565 ปักหมุดและแบ่งปัน
     

                ในจำนวนสารเสพติดหลาย ๆ ชนิดที่เรารู้จัก หากให้เลือกสารที่คิดว่าสร้างอันตรายให้มนุษยชาติมากที่สุดมาหนึ่งชนิด หลายคนคงเลือกยาเสพติดที่คุ้นหู และได้ยินบ่อย ๆ ตามข่าวอาชญากรรม เช่น เฮโรอีน ยาบ้า ยาอี หรือ โคเคน ความเข้าใจว่าสารเสพติดชื่อคุ้นหูเหล่านี้เป็นสารอันตรายรุนแรงคงไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะมันก็เป็นอันตรายจริงและเหตุการณ์เรื่องคนใช้เฮโรอีนเกินขนาดจนตาย ใช้เฮโรอีนจนเกิดการแพร่โรคที่น่าสะพรึงอย่างเอชไอวี หรือใช้ยาบ้าจนคลุ้มคลั่งทำร้ายผู้คน ทำลายทรัพย์สิน หรือปาร์ตี้ยาไอซ์ยาอี ทำให้เกิดการทะเลาะวิวาท การคุกคามทางเพศ เป็นข่าวที่เจอได้บ่อย และสร้างภาพจำที่รุนแรงของยาเสพติดเหล่านี้ โดยตัวมันเองก็ไม่ได้มีการนำมาใช้เป็นประโยชน์อื่นใดที่เห็นได้ชัด

                 แต่กระนั้นก็ตาม หากใช้เพียงความรู้สึกมาตัดสินแล้ว โลกใบนี้ก็คงไม่มีจุดสิ้นสุด หากเป็นเรื่องที่ไม่มีอันตรายอะไรก็คงไม่เป็นไร แต่นี่เป็นเรื่องของสิ่งที่ทำลายชีวิต ทรัพย์สิน และความสงบของสังคม “รัฐ” ใด ๆ ก็ตามก็ต้องสร้างกรอบกติกาและกฎหมายเข้ามาดูแลจัดการเรื่องเหล่านี้ การตัดสินใจว่าจะทุ่มงบประมาณ หรือ สรรพกำลังของรัฐในการลดปัญหาที่เกิดจากสิ่งใดก็ตาม รัฐก็ต้องมีหลักการที่จะเลือกทำสิ่งเหล่านั้น จึงเป็นที่มาของการจัดอันดับสารเสพติดที่อันตรายต่อมนุษยชาติที่สุดขึ้น

                 คำถามที่ว่านี้นักวิชาการด้านนโยบายสารเสพติด และ ผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้เริ่มตั้งขึ้น และคิดถึงผลกระทบตามมาของการใช้สารเสพติด งานตีพิมพ์ในเรื่องนี้ที่เป็นบรรทัดฐานในการประเมินที่ดี มาจากกลุ่มนักวิชาการด้านนโยบายสารเสพติดของสหราชอาณาจักร นำโดย Prof. David J. Nutt ได้ตีพิมพ์กระบวนการคัดเลือกและจัดอันดับดังกล่าวในวารสาร The LANCET ในปี 2010 คณะทำงานของเขาตั้งคำถามเดียวกันกับกลุ่มผู้ทำงานด้านนโยบายยาเสพติดก่อนหน้านี้ว่า หากเราจะวัดระดับความรุนแรงของยาเสพติดสักชนิดหนึ่ง เราควรจะวัดจากอะไรบ้าง แน่นอนว่าผลที่เกิดขึ้นส่วนแรกเลย คือ ผลที่เกิดขึ้นต่อผู้ใช้สาร แต่ขณะเดียวกัน การใช้สารเสพติดนั้นผลกระทบของมันไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับผู้ใช้ ยังมีคนอีกจำนวนมากที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม และ แม้กระทั่งระดับชุมชน ไปจนรัฐ ก็ได้รับผลกระทบจากการใช้สารเสพติดแต่ละชนิดเช่นกัน ดังนั้นหากจะวัดว่าสารเสพติดตัวไหนทำร้ายมนุษยชาติมากที่สุด ก็คงต้องเอาส่วนผลกระทบด้านลบที่เกิดจากผู้ใช้ และ สังคมส่วนอื่นที่มีทั้งผู้ใช้และผู้ไม่ใช้อยู่ร่วมกัน มาเป็นเกณฑ์ในการตัดสิน

หลักเกณฑ์ของการแบ่งความอันตรายของสารเสพติดแต่ละชนิด แบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ ๆ คือ
                 1. อันตรายต่อผู้ใช้ และ
                 2. อันตรายต่อผู้อื่นโดยในส่วนของอันตรายต่อผู้ใช้ ก็แยกออกเป็นดังนี้
 
 
1.1 อันตรายต่อร่างกาย ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
                 1. อันตรายของตัวสารที่มีต่อการเสียชีวิตโดยตรง เช่น การใช้เกินขนาด จนทำให้เกิดการเสียชีวิต พบได้ในกลุ่มสารเสพติดชนิด opioid เช่น เฮโรอีน มอร์ฟีน ฝิ่น เป็นต้น
                 2. อันตรายของตัวสารที่มีต่อการเสียชีวิตโดยอ้อม ทำให้ผู้ใช้มีอายุขัยเฉลี่ยน้อยลง เช่น การใช้แอลกอฮอล์เพิ่มโอกาสในการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน การใช้เฮโรอีนแบบฉีดเข้าเส้นเลือดทำให้เป็นโรคเอดส์ การสูบบุหรี่เป็นเวลานานทำให้เป็นโรคมะเร็งหลายชนิดและท้ายที่สุดนั้นจะทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร 
                 3. อันตรายของตัวสารที่มีต่อการทำลายร่างกายโดยตรง เช่น การใช้แอลกอฮอล์ต่อเนื่องทำให้ตับเสื่อมสภาพ การใช้สารเสพติดแบบฉีดเข้าเส้นเลือดทำให้เกิดการติดเชื้อในลิ้นหัวใจ การใช้โคเคนหรือแอมเฟตามีนในระยะเวลานานทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อหัวใจ เป็นต้น
                 4. อันตรายของตัวสารที่มีต่อการทำลายร่างกายโดยอ้อม เช่น การติดเชื้อจากการใช้เข็มร่วมกัน การมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ได้ตั้งใจหลังการใช้สารเป็นต้น

1.2 อันตรายต่อความคิดและสติปัญญาของผู้ใช้
ฤทธิ์การเสพติดของตัวสาร อาการขาดยาได้น้อยมาก และโอกาสในการหยุดใช้อย่างถาวรนั้นน้อยกว่าสารเสพติดอื่น ๆ ทุกชนิดหมายถึง ภาวะที่ผู้ใช้ต้องพึ่งพาสารเสพติดชนิดนั้น ๆ เมื่อมีอาการเสพติดไปแล้ว ซึ่งแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน ผู้ที่ติดบุหรี่สามารถใช้ชีวิตอย่างปกติได้ และมีโอกาสเลิกได้ง่ายกว่า เมื่อเทียบกับผู้ใช้เฮโรอีนที่หากเสพติดแล้วจะมีความอดทนต่อ
อันตรายของตัวสารที่มีผลต่อระบบจิตประสาทโดยตรง เช่น การใช้สารเสพติดกลุ่มแอมเฟตามีนจะทำให้เกิดโรคจิตเภท หรืออาการเมาจากฤทธิ์ยา ซึ่งมีในสารเสพติดทุกชนิด เป็นต้น
อันตรายของตัวสารที่มีผลต่อจิตประสาทโดยอ้อม การใช้สารเสพติดเป็นเวลานาน ๆ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ ความรู้สึก รูปแบบการใช้ชีวิต และสติปัญญาของผู้ใช้

1.3 อันตรายต่อผู้ใช้ในมิติด้านสังคมของผู้ใช้
ความสามารถในการทำให้สูญเสียงานและวิถีชีวิตปกติของผู้ใช้ เช่น หน้าที่การงาน ที่พักอาศัย คุณภาพชีวิตทั่วไป การอยู่ในระบบศึกษาและสถานที่ทำงานของผู้ใช้ยา ความสามารถในการทำให้สูญเสียความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้กับครอบครัวหรือเพื่อน

2.1 อันตรายต่อผู้อื่นในด้านกายภาพ คือการที่คนทั่วไปที่ไม่ได้ใช้สารเสพติดได้รับบาดเจ็บโดยตรงจากผู้ใช้สารเสพติด เช่น อุบัติเหตุจราจร การบาดเจ็บที่เกิดจากการชกต่อย การได้รับบาดเจ็บจากการสัมผัสของเสียจากการใช้สารเสพติด เช่น เข็มสำหรับฉีดเฮโรอีน หรือได้รับเชื้อโรคติดต่อทางเลือดจากผู้ใช้สารเสพติด
 
2.2 อันตรายต่อผู้อื่นในด้านสังคม
                 - อาชญากรรม เช่น การใช้สารเสพติดชนิดนั้น ๆ ทำให้ภาพรวมของอาชญากรรมในสังคมที่เพิ่มขึ้น (ไม่ใช่ระดับปัจเจกบุคคล) 
                 - ผลกระทบทุกรูปแบบของสารเสพติดชนิดนั้น ๆ ต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การผลิตแอมเฟตามีนและโคเคนทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม การใช้เฮโรอีนแบบฉีดเข้าเส้นเลือดทำให้เกิดขยะติดเชื้อซึ่งเป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมเช่นกัน 
                 - สถาบันครอบครัว การใช้สารเสพติดชนิดนั้น ๆ ทำให้เกิดผลกระทบต่อสถาบันครอบครัวในรูปแบบต่าง ๆ เช่น คุณภาพชีวิตโดยรวมของสมาชิกในครอบครัว การใช้ความรุนแรงต่อสมาชิกในครอบครัว เด็กถูกทอดทิ้ง อัตราหย่าร้างจากปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว เป็นต้น
                 - ปัญหาระหว่างประเทศ เช่น การส่งออกและนำเข้าสารเสพติด ทำให้เกิดปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ การลักลอบขนส่งสิ่งผิดกฎหมาย การเกิดองค์กรอาชญากรรมที่สามารถปฏิบัติการระดับนานาชาติได้ รวมไปถึงการทำลายสิ่งแวดล้อมขนาดใหญ่ ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศที่กระทบต่อหลายชาติ เป็นต้น
                 - ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ที่สังคมแบกรับ ค่าใช้จ่ายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเสพติดที่ดำเนินการโดยรัฐบาลนั้นใช้ต้นทุนจากภาษีที่เก็บร่วมกันจากประชาชนทั้งประเทศ ความเสียหายทางเศรษฐกิจประกอบด้วย ค่ารักษาพยาบาล ค่าดำเนินการทางอาญา ค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรมทางสังคมสงเคราะห์ ความเสียหายที่เกิดจากอาชญากรรม การสูญเสียการผลิตจากการสูญเสียประชากรวัยแรงงานของประเทศจากการใช้สารเสพติด เป็นต้น
                 - ผลกระทบต่อชุมชน ที่ทำให้ชุมชนมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น





Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.

ข่าวสารทั่วไป5 อันดับล่าสุด

      เข้าร่วมพิธีเจริญพุทธมนต์ ภายใต้กิจกรรมธรรมยาตรา รักษาศีล 5 หมื่นก้าว 59 ปี อำเภอจุน เทิดไท้องค์ราชัน 22/ก.ค./2567
      จัดโครงการอบรมสร้างจิตสำนึกอนุรักษ์ป่าชุมชนและการปลูกป่าเพิ่มพื้นที่สีเขียว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการอนุรักษ์ทรัพยากร และมีความตระหนักและเห็นคุณค่าของการปลูกป่า มีจิตสำนึกในอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ 22/ก.ค./2567
      มอบทุนเพื่อการศึกษา จากชมรมครู บุคลากรทางการศึกษาอำเภอจุน ให้กับนักศึกษา สกร.ระดับอำเภอจุน จำนวน 4 ทุน ทุนละ 500 บาท 22/ก.ค./2567
      มอบทุนเพื่อการศึกษา จากชมรมครู บุคลากรทางการศึกษาอำเภอจุน ให้กับนักศึกษา สกร.ระดับอำเภอจุน จำนวน 4 ทุน ทุนละ 500 บาท 22/ก.ค./2567
      วันที่ 2 กรกฎาคม 2567 นายวสันต์ สุธรรมมา ครู รักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอจุน มอบหมายให้นายณัฐวัฒน์ สิทธิสาร ครูอาสาสมัครฯ เข้าร่วมประชุมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ ครั้งที่ 7/2567 4/ก.ค./2567


Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5
ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอจุน
สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดพะเยา
Based on : Maxsite1.10 Modified to ATOMYMAXSITE 2.5